วันอาทิตย์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

น้ำกรด


  




น้ำกรดกัด
ใช้ผงฟู เบกกิ้งโซดา  มาเทใส่ บริเวณที่โดน หรือ เอาไปละลายน้ำก่อน แล้วนำมาล้างแผล ใช้ให้เยอะไว้ก่อน  แล้วรีบนำส่งโรงพยาบาล

น้ำเบส(ด่าง)กัด
ใช้น้ำส้มสายชูเทใส่แผลที่โดน ด่าง หรือ ใช้อะไรเปรี้ยวๆ อย่าง น้ำส้ม น้ำมะนาว น้ำโค้ก น้ำอัดลม แล้วรีบนำส่งโรงพยาบาล

แต่จริงๆแล้วเวลาโดนของพวกนี้ ให้รีบเอาน้ำเปล่ามากๆๆๆๆๆๆ มาล้างแผลโดยด่วนที่สุด ล้างผ่านแผลเบาๆ แต่ มากๆๆๆๆๆ เอาแผลไปจุ่มน้ำได้ยิ่งดี แต่จุดประสงหลังคือ ทำให้ ไอ้ตัวที่มากัด เจือจางให้มากที่สุด เพื่อ ป้องกันการกัดกร่อนต่อผิวหนัง

ผมไม่เคยโดนของพวกนี้กัด แต่ได้ยินมาว่า
เบสจะลื่นๆ เหมือนสบู่ ถ้าโดนแบสกัดให้ลองถูดู ถ้าลื่นก็ คือเบส ถ้าไม่ลื่นก้เป็นกรด

ถ้วยยางพารา









มีดกรีดยางพารา





-    ใบมีดทำจากเหล็กกล้า นำเข้าจากญี่ปุ่น 

-    ใบมีดออกแบบตามผลสำรวจของลูกค้ากว่า 1000 คน จากการลงพื้นที่ สามจังหวัดภาคใต้ ภาคอีสาน ภาคเหนือ ตะวันออก  

-    น้ำยางออกไหลดี แผลเรียบ  ไม่ช้ำ ทำให้เกิดแผลใหม่ได้ง่าย ต้นยางอายุยืยยาว  

-    ตัดภาระการลับคมมีด  ทำให้มีเวลามากขึ้น 

ใช่ง่าย สะดวก สบาย  

วันเสาร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

น้ำยางพารา




น้ำยางมาจากต้นไม้ยืนต้น มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งคือ ยางพารา[1] ยางพารามีถินกำเนิดบริเวณลุ่มน้ำอเมซอน ประเทศบราซิล และเปรู ทวีปอเมริกาใต้ ซึ่งชาวมายาในอเมริกากลาง ได้รู้จักการนำยางพารามาใช้ก่อนปี พ.ศ. 2000 โดยการจุ่มเท้าลงในน้ำยางดิบเพื่อทำเป็นรองเท้า ส่วนเผ่าอื่น ๆ ก็นำยางไปใช้ประโยชน์ ในการทำผ้ากันฝน ทำขวดใส่น้ำ แบะทำลูกบอลยางเล่นเกมส์ต่าง ๆ เป็นต้น จนกระทั่งคริสโตเฟอร์ โคลัมบัสได้เดินทางมาสำรวจทวีปอเมริกาใต้ ในระหว่างปี พ.ศ. 2036-2039 และได้พบกับชาวพื้นเมืองเกาะไฮติที่กำลังเล่นลูกบอลยางซึ่งสามารถกระดอนได้ ทำให้คณะผู้เดินทางสำรวจประหลาดใจจึงเรียกว่า "ลูกบอลผีสิง"
ต่อมาในปี พ.ศ. 2279 นักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศสชื่อชาลส์ มารีเดอลา คองตามีน์ (Charles Merie de la Condamine) ได้ให้ชื่อเรียกยางตามคำพื้นเมืองของชาวไมกาว่า "คาโอชู" (Caoutchouc) ซึ่งแปลว่าต้นไม้ร้องไห้ และให้ชื่อเรียกของเหลวที่มีลักษณะขุ่นขาวคล้ายน้ำนมซึ่งไหลออกมาจากต้นยางเมื่อกรีดเป็นรอยแผลว่า ลาเทกซ์ และใน พ.ศ. 2369 ไมเคิล ฟาราเดย์ (Faraday) ได้รายงานว่าน้ำยางเป็นสารที่ประกอบด้วยธาตุคาร์บอนและไฮโดรเจน มีสูตรเอมไพริเคิล คือ C5H8 หลังจากนั้นจึงได้มีการปรับปรุงสมบัติของยางพาราเพื่อให้ใช้งานได้กว้างขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์

การผลิตน้ำยาง[แก้]

ยางแผ่น


8. เมื่อยางจับตัวราว 30 นาที ใช้นิ้วมือกดดู ยางยุบตัวลงได้ นุ่มๆ ยางไม่ติดมือสามารถนำไปนวดได้ ก่อนนำไปนวดรินน้ำสะอาดหล่อไว้ทุกตะกง เพื่อสะดวกในการเทแท่นยางออกจากตะกง อย่าปล่อยให้ยางจับตัวนานเกินไปจนไม่สามรถนวด รีดได้ ควรตรวจสอบการจับตัวบ่อยๆ และสังเกตลักษณะก้อนยางที่จับตัวได้พอดีสำหรับทำการนวด จนเกิดความชำนาญ 9. เทก้อนยางออกจากตะกงบนโต๊ะนวดยางที่ปูด้วยอลูมิเนียมหรือแผ่นสังกะสี ใช้ท่อเหล็กนวดขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3 นิ้ว ยาวประมาณ 80 เซนติเมตร นวดยางให้หนาประมาณ 1 เซนติเมตร ตกแต่งแผ่นยางขณะทำการนวดให้มีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่มีความยาวเป็น 2 เท่าของความกว้าง มุมทั้งสี่โค้งมนได้รูป

ขี้ยางพารา




กำไรหรือขาดทุน เริ่มจากซื้อยางถ้วย หรือ ขี้ยาง ที่ถูกต้อง ตัวอย่าง ยางถ้วยค้างคืน 1-2 คืน เมื่อรีดทำยางเครป 7-8 มีด เป็นยางที่มีคุณภาพ เมื่อซื้อขาย สมมติราคารับซื้อที่ 42 บาท/กิโลกรัม
ประเมินว่ายาง 1 ตัน
42 x 1,000 = 42,000
ทั่วไปน้ำหนักหาย 10% ทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้นอีก 4.20 บาท
42 + 4.20 = 46.20
46.20 + แรงงาน + ไฟฟ้า(ประเมินที่ 1 บาท/กิโลกรัม )
42 + 4.20 + 1 = 47.20 บาท
ในช่วงระยะเวลา มกราคม – กุมภาพันธ์ 56 ยางเครปซื้อขายที่ 74 บาท

ผลยางพารา




ข้อด้อยของน้ำมันเมล็ดยางพารา ปัญหาและวิธีแก้ไข
เมล็ดยางมีน้ำมันร้อยละ ๒๕-๓๐ ถ้าสกัดทั้งเปลือก แต่ถ้าแยกเอาเปลือกออกสกัดเฉพาะเนื้อในจะให้น้ำมันร้อยละ ๔๕-๕๐ การสกัดทั้งเปลือกแม้จะให้น้ำมันน้อยกว่า แต่จะประหวัดแรงงานและการลงทุนมากกว่าสกัดเฉพาะเนื้อใน ดังนั้นจึงไม่มีโรงงานใดกะเทาะเปลือกก่อนการสกัดน้ำมัน
น้ำมันจากเมล็ดยางพารามีคุณสมบัติที่ด้อยกว่าน้ำมันพืชชนิดอื่น ๆ อยู่หลายประการ เป็นต้นว่าจะมีค่ากรดขึ้นสูงและสีจะเข้มจนดำในเวลาอันสั้น น้ำมันจะมีการแห้งตัวช้า มีลักาณะเป็นน้ำมันกึ่งแห้งเร็ว ยิ่งเก็บไว้นานจะยิ่งเสื่อมคุณภาพในการแห้งลงไปและสีก็จะคล้ำลงตามลำดับ ซึ่งแก้ไขด้วยวิธีอบเมล็ด ๘๐-๑๐๐ องศาเซลเซียส ใช้เวลาประมาณ ๘ ชั่วโมง เมล็ดที่ผ่านการอบแล้วจะเก็บไว้ได้ระยะเวลาหนึ่ง การเก็บเมล็ดที่มีความชื้นต่ำจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะทำให้น้ำมันมีคุณภาพดี
เมื่ออบเมล็ดไล่ความชื้นแล้วนำเข้าเครื่องบีบอัดได้ทันทีและถ้านำน้ำมันที่ได้ผ่านกรรมวิธีฟอกสีทันที ที่อุณหภูมิ ๙๐-๑๑๐ องศาเซลเซียส ใช้ผงฟอกสี ๓-๕ เปอร์เซ็นต์ จะช่วยลดสีของน้ำมันลงได้มากและสามารถจะเก็บน้ำมันได้ข้ามปี โดยจะมีสีเข้มขึ้นเพียงเล็กน้อย

เมล็ดยางพารา




เมล็ดร่วงหล่นทับถมจมดิน
ยางพารา นอกจากจะกรีดเอาน้ำยางมาทำประโยชน์ตามปริมาณและมูลค่าดังกล่าวแล้ว ยางพารายังมีเมล็ดที่ให้น้ำมันซึ่งสามารถนำไปทำประโยชน์ในทางอุตสาหกรรมอื่นได้อีก โดยเฉลี่ยยางที่มีอายุ ๓-๕ ปีขึ้นไป จะให้เมล็ดเฉลี่ยแล้วไร่ละประมาณ ๑๐ กิโลกรัม หรือยางพารา ๗ ล้านไร่ทั่วประเทศ จะได้เมล็ดยางถึง ๗๐,๐๐๐ ตัน แต่การใช้ประโยชน์จากเมล็ดหรือน้ำมันจากเมล็ดยางยังน้อยมาก
จากข้อมูลของสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร เมล็ดยางใช้ทำต้นตอปลูกปีละประมาณ ๓๖๐ ตัน และใช้สกัดทำน้ำมันปีละประมาณ ๑๐๐๐ ตันเท่านั้น นอกจากนั้นจะถูกทิ้งจมดินทับถมกันไปปีต่อปี

ใบยางพารา






      ปัจจุบันการนำวัสดุธรรมชาติที่มีอยู่มาใช้ประโยชน์ในการประดิษฐ์เป็นสิ่งของต่าง ๆ เช่น การทำดอกไม้ประดิษฐ์ การทำของที่ระลึก ทำของชำร่วยในงานพิธีต่าง ๆ ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง เพราะเป็นการสร้างอาชีพเสริมรายได้อีกทางหนึ่ง สำหรับในแวดวงของชาวสวนยาง การประดิษฐ์ดอกไม้จากใบยางพารา ก็ได้รับความสนใจ เนื่องจากเป็นการนำเอาวัสดุที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติ คือ ใบยางพารา ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมากมาดัดแปลงประดิษฐ์เป็นดอกไม้ได้หลายชนิด ก่อให้เกิดรายได้เสริมสำหรับครอบครัวอีกทางหนึ่ง

ปิดหน้ายางพารา




การปลูกยางในประเทศไทยไม่มีการบันทึกเป็นหลักฐานที่แน่นอน แต่คาดว่าน่าจะเริ่มมีการปลูกในช่วงประมาณปี พ.ศ. 2442-2444 ซึ่งพระยารัษฏานุประดิษฐ์ มหิศรภักดี(คอซิมบี้ ณ ระนอง) เจ้าเมืองตรังในขณะนั้น ได้นำเมล็ดยางพารามาปลูกที่อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง เป็นครั้งแรก ซึ่งชาวบ้านเรียกต้นยางชุดแรกนี้ว่า "ต้นยางเทศา"[1] และต่อมาได้มีการขยายพันธ์ยางมาปลูกในบริเวณจังหวัดตรังและนราธิวาส ในปี พ.ศ. 2454 ได้มีการนำพันธุ์ยางมาปลูกในจังหวัดจันทบุรีซึ่งอยู่ทางภาคตะวันออกของประเทศไทย โดยหลวงราชไมตรี (ปูม ปุณศรี) เป็นผู้นำพันธุ์ยางมาปลูก และนับจากนั้นเป็นต้นมาได้มีการขยายพันธุ์ปลูกยางพาราไปทั่วทั้ง 14 จังหวัดในภาคใต้ และ 3 จังหวัดในภาคตะวันออก นอกจากนี้ยังมีการขยายพันธุ์ยางมาปลูกในภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 เป็นต้นมา ยางพาราก็กลายเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย และมีการผลิตเป็นอันดับหนึ่งของโลก
ยางพาราประเภทยางดิบ ผลิตภัณฑ์ยาง และไม้ยางพารา สามารถทำรายได้การส่งออกเป็นอันดับสองของประเทศ ยางพาราจึงถือว่าเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย และมีการส่งออกยางธรรมชาติมาเป็นอันดับหนึ่งของโลกมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 ซึ่งในปี พ.ศ. 2543 มีผลผลิตจากยางธรรมชาติประมาณ 2.4 ล้านตัน มีมูลค่าทั้งสิ้นประมาณ 124,000 ล้านบาท เดิมพื้นที่ที่มีการปลูกยางส่วนใหญ่จะอยู่ในภาคใต้และภาคตะวันออก แต่ในปัจจุบันมีการขยายการปลูกเพิ่มขึ้นไปยังภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันตก โดยเฉพาะยางพาราจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างในเขตจังหวัดบุรีรัมย์และจังหวัดศรีสะเกษ จัดเป็นยางพาราคุณภาพดีไม่ต่างจากแหล่งผลิตเดิมในเขตภาคใต้และภาคตะวันออก พื้นที่ที่เหมาะแก่การปลูกยางทั่วประเทศมีทั้งหมด 55.1 ล้านไร่ แต่พื้นที่ปลูกจริงมีประมาณ 19 ล้านไร่เกษตรกร 1,200,000คน สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ 4แสนล้านบาท

วันพฤหัสบดีที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ใบยางกำลังแห้ง


1. เมื่อพบอาการของโรคแม้เพียงหนึ่งหรือสองต้นให้ทำการฉีดพ่นด้วย เมตาแลคซิล ขนาด 7-14 กรัมต่อน้ำ 1ลิตร
ฉีดพ่นทุกๆต้นทั่วทั้งแปลงทุกๆ 7 วัน ข้อสังเกตที่สำคัญคือให้ฉีดเมื่อใบยางยังอ่อนมีลีเหลืองนวล จนใบเป็นสีเขียว ก็จะถือได้ว่าเพียงพอ
2. ต้นที่เป็นโรคแล้วให้ตัด แต่ไม่ต้องตกใจครับ วิธีการตัดก็คือ ตัดจากยอดลงมาจนถึงช่วงรอยต่อระหว่างยางที่ตายแล้วกับยางที่ยังเปลือกสีเขียวอยู่ ให้ตัดเลยมาถึงช่วงที่เปลือกยังสีเขียวลงมาประมาณ 5-10 ซม. ยางที่เหลือก็จะรอด และแตกแขนงใหม่ต่อไปด้วยดี
3. กรณีที่ปล่อยไว้จนต้นยางตายจนเหลือประมาณ 2 เมตรหรือน้อยกว่านั้น ให้ตัดต้นยางที่โคนต้น เหนือพื้นดินขึ้นมาประมาณ 15-20 ซม. ไม่ต้องตกใจอีกแล้ว เพราะยางจะแตกแขนงขึ้นมาเท่ากับต้นอื่นๆภายในเวลาประมาณ 2 เดือนเท่านั้น จากนั้น ก็แต่งกิ่งที่อยู่บริเวณหน้ายางออกไปเสียก็จะเรียบร้อย

ยางตาย








ช่วงนี้เป็นช่วงที่ยางขนาดเล็ก อายุ 1-2 ปี เป็นโรคตายจากยอดในหลายพื้นที่ เพื่อประโยชน์ของพี่น้องเกษตรกรทั้งหลาย ผมจึงนำวิธีรักษาและการป้องกันมาบอกกล่าวทุกท่าน ณ บัดนี้
อาการของโรคก็เหมือนดังชื่อ คือต้นยางจะตายจากยอดลงมาเรื่อยๆ ปล่อยทิ้งไว้ก็จะตายลงมาถึงโคนต้นและตายไปในที่สุด โรคนี้เกิดจากเชื้อไฟท้อปเทอร่า และเกิดขึ้นเฉพาะยางเล็กเท่านั้น กล่าวคือ ยางที่มีอายุ ประมาณ 3 ปีขึ้นไป จะพบโรคนี้น้อยมากๆ ส่วนต้นที่มีอาการ ถ้าท่านปล่อยไว้จนอายุ 3 ปี อาการของโรคก็จะหายไปเอง แต่อย่าเสี่ยงเลยครับ อาจจะตายหมดก่อน เพราะฉะนั้นเรามาดูวิธีการ

ยางหน้าเล็ก









การผลิตยางในโลกสมัยก่อนปี พ.ศ.2443 (1900) นั้น ส่วนมากจะเป็นยางที่ปลูกในประเทศแถบอเมริกาใต้คือ บราซิล โคลัมเบีย และปานามาเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนั้นยังมียางที่ได้จากรัสเซีย และอัฟริกาเป็นบางส่วน และในช่วงเวลาก่อนหน้านั้น ยางเริ่มมีความสำคัญ ต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์มากขึ้นแล้ว โลกจึงมีความต้องการใช้ยางเป็นจำนวนมาก โธมัส แฮนคอก จึงมีความคิดว่า ถ้าโลก (หมายถึงยุโรป) ยังคงต้องพึ่งยางที่มาจากแหล่งต่างๆ เหล่านั้นเพียงอย่างเดียว ในอนาคตอาจจะเกิดความขาดแคลนยางขึ้นได้ จึงน่าที่จะหาที่ ใหม่ๆในส่วนอื่นๆของโลกเพื่อปลูกยางเอาไว้บ้าง ในปี พ.ศ.2398 (1855) จึงนำความคิดนี้ไปปรึกษาเซอร์โจเซฟ ฮุกเกอร์ แต่ไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควรชาวยุโรปในยุคนั้น ยังไม่มีใครรู้จักยางกันมากนักว่า ยางมีหน้าตาเป็นอย่างไร หรือแม้กระทั่งได้ยางมาอย่างไรจากต้นอะไร จนกระทั่งในปี พ.ศ.2414 (1871) จึงมีผู้นำภาพวาดต้นยางมาให้เซอร์โจเซฟ ฮุกเกอร์ ดูท่านจึงมีความสนใจในการปลูกยางมากขึ้น จึงได้ปรึกษากับเซอร์คลีเมนส์ มาร์คแฮม ผู้ช่วยเลขาธิการประจำทำเนียบ ผู้ว่าการประจำอินเดีย ความพยายามที่จะนำยางมาปลูกในเอเชียจึงเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก ในช่วงเวลาเดียวกันนั้น สถานะการณ์ยางในประเทศแถบอเมริกาใต้ไม่ค่อยดีนัก เนื่องจากในสภาวะที่โลกมีความต้องการยางสูงมาก ชาวสวนยางในโคลัมเบียและปานามาจึงโหมกรีดยางกันอย่างหนัก จนในที่สุด ต้นยางในประเทศนั้นจึงได้รับความบอบช้ำมาก และตายหมดจนไม่มีต้นยางเหลืออยู่ในแถบนั้นอีกเลย
เซอร์คลีเมนส์ จึงนำพันธุ์ยางมาทดลองปลูกในอินเดียเป็นครั้งแรก แต่ไม่ประสบความสำเร็จ จึงได้ทดลองปลูกยางในดินแดนต่างๆ ที่เป็นอาณานิคมของอังกฤษ ในที่สุดจึงพบว่า ในดินแดนแหลมมลายูเป็นที่ที่ยางจะเจริญเติบโตได้ดีที่สุด และยังพบว่า พันธุ์ยางที่ดีที่สุดคือยางพันธุ์ Hevea Brasiliensis หรือยางพารา ดังนั้น ตั้งแต่ปี พ.ศ.2425 (1882) ยางพาราจึงเป็นที่ นิยมปลูกกันอย่างแพร่หลายในแหลมมลายูในระยะแรกเริ่ม ยางพาราจะปลูกกันมากในดินแดนอาณานิคมของอังกฤษและฮอลแลนด์เป็นส่วนใหญ่ นอกจากนั้น เยอรมันก็ปลูกยางไว้ที่อัฟริกาบ้าง และบางส่วนเป็นยางในรัสเซีย เหตุที่ยางพาราเป็นที่นิยมปลูกกันมากในเอเชีย อาจเนื่องมาจาก ในเอเชียมีองค์ประกอบต่างๆที่เหมาะสมในการปลูก ทั้งสภาพดินฟ้าอากาศ ภูมิประเทศ สภาพดิน และปริมาณฝน รวมทั้งแรงงานที่หาได้ง่าย ประกอบกับคุณสมบัติทางการเกษตรและการพาณิชย์

ยางพึ่งปลูก









โลกเพิ่งจะมีโอกาสรู้จักและใช้ประโยชน์จากยางเมื่อประมาณปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15 นี้ เอง ในขณะที่ คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส ผู้ค้นพบโลกใหม่เดินทางไปอเมริกาในครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ.2036 (1493) ก็ได้พบว่า มีชาวพื้นเมืองบางเผ่าทั้งในอเมริกากลางและอเมริกาใต้ ได้รู้จักและใช้ประโยชน์จากยางกันบ้างแล้ว เช่น ชาวพื้นเมืองในอเมริกากลางที่ทำรองเท้า
จากยางโดยการใช้มีดฟันต้นยาง แล้วรองน้ำยางใส่ภาชนะ หลังจากนั้น จึงเอาเท้าจุ่มลง ไปในน้ำยางนั้น หรือเอาเท้าวางไว้บนภาชนะแล้วเทน้ำยางราดลงบนเท้า ก็จะได้รองเท้า ที่เข้ากับเท้าพอดี หรือบางเผ่าในอเมริกาใต้ทำเสื้อกันฝนและผ้ากันน้ำจากยาง หรือเผ่ามา ยันในอเมริกาใต้ ที่ทำลูกบอลด้วยยาง แล้วนำมาเล่นโดยการให้กระเด้งขึ้นลงเพื่อเป็นการ สักการะเทพเจ้า จึงทำให้โคลัมบัสและคณะมีความแปลกใจเป็นอันมาก และคิดกันไปว่า ในลูกกลมๆที่เด้งได้นั้น ต้องมีตัวอะไรอยู่ข้างในเป็นแน่ หลังจากนั้นเมื่อโคลัมบัสเดินทาง กลับยุโรป ก็ได้นำวัตถุประหลาดนั้นกลับไปด้วย โคลัมบัสจึงเป็นชาวยุโรปคนแรกที่ได้มีโอกาสสัมผัสยาง และนำยางเข้าไปเผยแพร่ในยุโรป
การส่งยางเข้ามาในยุโรปในระยะแรกนั้นต้องใช้เวลานานมาก กว่าที่ยางจะเดินทางจาก แหล่งกำเนิดจนมาถึงยุโรป ยางก็จะจับตัวกันเป็นก้อนเสียก่อน ดังนั้น ยางที่เข้ามาในยุโรปสมัยแรกๆ นั้น จึงเป็นยางที่ผลิตเป็นสินค้าแล้วเนื่องจากมนุษย์ยังไม่รู้จักวิธีที่จะทำ ให้ยางที่จับตัวกันเป็นก้อน ให้ละลายและทำเป็นรูปทรงที่ต้องการได้อย่างไร การผลิต ยางจึงต้องทำทันทีหลังจากได้น้ำยางมาก่อนที่ยางจะจับตัวกันเป็นก้อน ในอเมริกากลางและอเมริกาใต้เช่น ในประเทศเม็กซิโก ก็มีหลักฐานว่าได้มีการใช้ประโยชน์จากยางกันบ้างแล้ว แต่เป็นการผลิตอย่างง่ายๆเช่น ทำผ้า ยางกันน้ำ ลูกบอล และ เสื้อกันฝน เป็นต้น

ยางต้นน้อย

  



ชาวพื้นเมืองในอเมริกากลางและอเมริกาใต้เรียกต้นไม้ที่ให้ยางว่า คาอุท์ชุค (Caoutchouc) แปลว่าต้นไม้ร้องไห้ จนถึงปี พ.ศ.2313 (1770) โจเซฟ พริสลี่ จึงพบว่า ยางสามารถลบ รอยดำของดินสอได้โดยที่กระดาษไม่เสีย จึงเรียกยางว่า ยางลบหรือตัวลบ (Rubber) ซึ่งเป็น คำเรียกยางเฉพาะในอังกฤษและฮอลแลนด์เท่านั้น ส่วนใน ประเทศยุโรปอื่นๆ ในสมัยนั้น ล้วนเรียกยางว่า คาอุท์ชุก ทั้งสิ้น จนถึงสมัยที่โลกได้มีการปลูกยางกันมากในประเทศแถบ อเมริกาใต้นั้น จึงได้ค้นพบว่า พันธุ์ยางที่มีคุณภาพดีที่สุดคือยางพันธุ์ Hevea Brasiliensis ซึ่ง มีคุณภาพดีกว่าพันธุ์ Hevea ธรรมดามาก จึงมีการปลูกและซื้อขายยางพันธุ์ดังกล่าวกัน มาก และศูนย์กลางของการซื้อขายยางก็อยู่ที่เมืองท่าชื่อ พารา (Para) บนฝั่งแม่น้ำอเมซอน ประเทศบราซิล ด้วยเหตุดังกล่าว ยางพันธุ์ Hevea Brasiliensis จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ยางพารา และเป็นชื่อที่ใช้เรียกกันแพร่หลายจนถึงทุกวันนี้
ยางมีคุณสมบัติพิเศษหลายอย่างที่มีความสำคัญต่อมนุษย์คือ มีความยืดหยุ่น (Elastic) กัน น้ำได้ เป็นฉนวนกันไฟได้ เก็บและพองลมได้ดี เป็นต้น ดังนั้นมนุษย์จึงยังจะต้องพึ่งยางต่อ ไปอีกนาน แม้ในปัจจุบัน มนุษย์สามารถผลิตยางเทียมได้แล้วก็ตาม แต่คุณสมบัติบางอย่าง ของยางเทียมก็สู้ยางธรรมชาติไม่ได้ ในโลกนี้ยังมีพืชอีกมากมายหลายชนิดที่ให้น้ำยาง (Rubber Bearing Plant) ซึ่งอาจจะมีเป็นพันๆ ชนิดในทวีปต่างๆ ทั่วโลก แต่น้ำยางที่ได้จาก ต้นยางแต่ละชนิดก็จะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันไป บางชนิดก็ใช้ทำอะไรไม่ได้เลย แต่ยาง บางชนิดเช่น ยางกัตตาเปอร์ชาที่ได้จากต้นกัตตา (Guttar Tree) ใช้ทำยางสำเร็จรูปเช่น ยางรถยนต์ หรือรองเท้า ไม่ได้แต่ใช้ทำสายไฟได้ หรือยางเยลูตง และยางบาลาตา ที่ได้ จากต้นยางชื่อเดียวกัน ถึงแม้จะมีความเหนียวของยาง (Natural Isomer of Rubber) อยู่ บ้าง แต่ก็มีเพียงสูตรอณู (Melecular Formula) เท่านั้นที่เหมือนกัน แต่โดยที่มี HighRasin Content จึงเหมาะที่จะใช้ทำหมากฝรั่งมากกว่า ยางที่ได้จากต้น Achas Sapota ในอเมริกา กลาง ซึ่งมีความเหนียวกว่ายางกัตตาเปอร์ชาและยางบาลาตามาก คนพื้นเมืองเรียกยางนี้ ว่า ชิเคิ้ล (Chicle) ดังนั้น บริษัท ผู้ผลิตหมากฝรั่งที่ทำมาจากยางชนิดนี้จึงตั้งชื่อหมากฝรั่ง นั้นว่า

วันจันทร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ยางพารา




         
             ยางพารา เป็นไม้ยืนต้น  มีถิ่นกำเนิดบริเวณลุ่มน้ำแอมะซอน ประเทศบราซิลและเปรู ทวีปอเมริกาใต้ ดยชาวพื้นเมืองเรียกว่า "เกาชู" (cao tchu) แปลว่าต้นไม้ร้องไห้ จนถึงปี พ.ศ. 2313 (1770) โจเซฟ พรีสต์ลีย์ พบว่ายางสามารถนำมาลบรอยดำของดินสอได้ จึงเรียกว่ายางลบหรือตัวลบ (rubber) ซึ่งเป็นศัพท์ใช้ในอังกฤษและเนเธอร์แลนด์เท่านั้น ศูนย์กลางของการเพาะปลูกและซื้อขายยางในอเมริกาใต้แต่ดั้งเดิมอยู่ที่รัฐปารา (Pará)ของบราซิล ยางชนิดนี้จึงมีชื่อเรียกว่า ยางพารา


การกรีดยาง



                                                                   การกรีดยาง

การกรีดยางเพื่อให้สะดวกต่อการกรีด และยังคงรักษาความสะอาดของถ้วยรองรับน้ำยางนั้นควรคำนึงถึงระดับความเอียงของรอยกรีดและความคมของมีดที่ใช้กรีดซึ่งต้องคมอยู่เสมอ[1]

·         เวลากรีดยาง : ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการกรีดยางมากที่สุดคือ ช่วง 6.00-8.00 น. เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่สามารถมองเห็นต้นยางได้อย่างชัดเจนและได้ปริมาณน้ำยางใกล้เคียงกับการกรีดยางในตอนเช้ามืด แต่การกรีดยางในช่วงเวลา 1.00-4.00 น. จะให้ปริมาณยางมากกว่าการกรีดยางในตอนเช้าอยู่ร้อยละ 4-5 ซึ่งเป็นช่วงที่ได้ปริมาณน้ำยางมากที่สุดด้วย แต่การกรีดยางในตอนเช้ามืดมีข้อเสีย คือ ง่ายต่อการกรีดบาดเยื่อเจริญส่งผลให้เกิดโรคหน้ายางทั้งยังเป็นการสิ้นเปลืองและไม่มีความปลอดภัยจากสัตว์ร้ายหรือโจรผู้ร้าย

·         การหยุดพักกรีด : ในฤดูแล้ง ใบไม้ผลัดใบหรือฤดูที่มีการผลิใบใหม่ จะหยุดพักการกรีดยางเนื่องจากมีผลต่อการเจริญเติบโตของใบและต้นยาง การกรีดยางในขณะที่ต้นยางเปียก จะทำให้เกิดโรคเส้นดำหรือเปลือกเน่าได้

·         การเพิ่มจำนวนกรีด : สามารถเพิ่มจำนวนวันกรีดได้โดย

o    การเพิ่มวันกรีด : สามารถกรีดในช่วงผลัดใบแต่จะได้น้ำยางในปริมาณน้อย ไม่ควรเร่งน้ำยางโดยใช้สารเคมีควรกรีดเท่าที่จำเป็นและในช่วงฤดูผลิใบต้องไม่มีการกรีดอีก

o    การกรีดยางชดเชย : วันกรีดที่เสียไปในฤดูฝนสามารถกรีดทดแทนได้แต่ไม่ควรเกินกว่า 2 วันในรอยกรีดแปลงเดิม และสามารถกรีดสายในช่วงเวลา 6.00-8.00 น. หากเกิดฝนตกทั้งคืน

o    การกรีดสาย : เมื่อต้นยางเปียกหรือเกิดฝนตกสามารถกรีดหลังเวลาปกติโดยการกรีดสายซึ่งจะกรีดในช่วงเช้าหรือเย็นแต่ในช่วงอากาศร้อนจัดไม่ควรทำการกรีด