วันอาทิตย์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

น้ำกรด


  




น้ำกรดกัด
ใช้ผงฟู เบกกิ้งโซดา  มาเทใส่ บริเวณที่โดน หรือ เอาไปละลายน้ำก่อน แล้วนำมาล้างแผล ใช้ให้เยอะไว้ก่อน  แล้วรีบนำส่งโรงพยาบาล

น้ำเบส(ด่าง)กัด
ใช้น้ำส้มสายชูเทใส่แผลที่โดน ด่าง หรือ ใช้อะไรเปรี้ยวๆ อย่าง น้ำส้ม น้ำมะนาว น้ำโค้ก น้ำอัดลม แล้วรีบนำส่งโรงพยาบาล

แต่จริงๆแล้วเวลาโดนของพวกนี้ ให้รีบเอาน้ำเปล่ามากๆๆๆๆๆๆ มาล้างแผลโดยด่วนที่สุด ล้างผ่านแผลเบาๆ แต่ มากๆๆๆๆๆ เอาแผลไปจุ่มน้ำได้ยิ่งดี แต่จุดประสงหลังคือ ทำให้ ไอ้ตัวที่มากัด เจือจางให้มากที่สุด เพื่อ ป้องกันการกัดกร่อนต่อผิวหนัง

ผมไม่เคยโดนของพวกนี้กัด แต่ได้ยินมาว่า
เบสจะลื่นๆ เหมือนสบู่ ถ้าโดนแบสกัดให้ลองถูดู ถ้าลื่นก็ คือเบส ถ้าไม่ลื่นก้เป็นกรด

ถ้วยยางพารา









มีดกรีดยางพารา





-    ใบมีดทำจากเหล็กกล้า นำเข้าจากญี่ปุ่น 

-    ใบมีดออกแบบตามผลสำรวจของลูกค้ากว่า 1000 คน จากการลงพื้นที่ สามจังหวัดภาคใต้ ภาคอีสาน ภาคเหนือ ตะวันออก  

-    น้ำยางออกไหลดี แผลเรียบ  ไม่ช้ำ ทำให้เกิดแผลใหม่ได้ง่าย ต้นยางอายุยืยยาว  

-    ตัดภาระการลับคมมีด  ทำให้มีเวลามากขึ้น 

ใช่ง่าย สะดวก สบาย  

วันเสาร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

น้ำยางพารา




น้ำยางมาจากต้นไม้ยืนต้น มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งคือ ยางพารา[1] ยางพารามีถินกำเนิดบริเวณลุ่มน้ำอเมซอน ประเทศบราซิล และเปรู ทวีปอเมริกาใต้ ซึ่งชาวมายาในอเมริกากลาง ได้รู้จักการนำยางพารามาใช้ก่อนปี พ.ศ. 2000 โดยการจุ่มเท้าลงในน้ำยางดิบเพื่อทำเป็นรองเท้า ส่วนเผ่าอื่น ๆ ก็นำยางไปใช้ประโยชน์ ในการทำผ้ากันฝน ทำขวดใส่น้ำ แบะทำลูกบอลยางเล่นเกมส์ต่าง ๆ เป็นต้น จนกระทั่งคริสโตเฟอร์ โคลัมบัสได้เดินทางมาสำรวจทวีปอเมริกาใต้ ในระหว่างปี พ.ศ. 2036-2039 และได้พบกับชาวพื้นเมืองเกาะไฮติที่กำลังเล่นลูกบอลยางซึ่งสามารถกระดอนได้ ทำให้คณะผู้เดินทางสำรวจประหลาดใจจึงเรียกว่า "ลูกบอลผีสิง"
ต่อมาในปี พ.ศ. 2279 นักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศสชื่อชาลส์ มารีเดอลา คองตามีน์ (Charles Merie de la Condamine) ได้ให้ชื่อเรียกยางตามคำพื้นเมืองของชาวไมกาว่า "คาโอชู" (Caoutchouc) ซึ่งแปลว่าต้นไม้ร้องไห้ และให้ชื่อเรียกของเหลวที่มีลักษณะขุ่นขาวคล้ายน้ำนมซึ่งไหลออกมาจากต้นยางเมื่อกรีดเป็นรอยแผลว่า ลาเทกซ์ และใน พ.ศ. 2369 ไมเคิล ฟาราเดย์ (Faraday) ได้รายงานว่าน้ำยางเป็นสารที่ประกอบด้วยธาตุคาร์บอนและไฮโดรเจน มีสูตรเอมไพริเคิล คือ C5H8 หลังจากนั้นจึงได้มีการปรับปรุงสมบัติของยางพาราเพื่อให้ใช้งานได้กว้างขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์

การผลิตน้ำยาง[แก้]

ยางแผ่น


8. เมื่อยางจับตัวราว 30 นาที ใช้นิ้วมือกดดู ยางยุบตัวลงได้ นุ่มๆ ยางไม่ติดมือสามารถนำไปนวดได้ ก่อนนำไปนวดรินน้ำสะอาดหล่อไว้ทุกตะกง เพื่อสะดวกในการเทแท่นยางออกจากตะกง อย่าปล่อยให้ยางจับตัวนานเกินไปจนไม่สามรถนวด รีดได้ ควรตรวจสอบการจับตัวบ่อยๆ และสังเกตลักษณะก้อนยางที่จับตัวได้พอดีสำหรับทำการนวด จนเกิดความชำนาญ 9. เทก้อนยางออกจากตะกงบนโต๊ะนวดยางที่ปูด้วยอลูมิเนียมหรือแผ่นสังกะสี ใช้ท่อเหล็กนวดขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3 นิ้ว ยาวประมาณ 80 เซนติเมตร นวดยางให้หนาประมาณ 1 เซนติเมตร ตกแต่งแผ่นยางขณะทำการนวดให้มีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่มีความยาวเป็น 2 เท่าของความกว้าง มุมทั้งสี่โค้งมนได้รูป

ขี้ยางพารา




กำไรหรือขาดทุน เริ่มจากซื้อยางถ้วย หรือ ขี้ยาง ที่ถูกต้อง ตัวอย่าง ยางถ้วยค้างคืน 1-2 คืน เมื่อรีดทำยางเครป 7-8 มีด เป็นยางที่มีคุณภาพ เมื่อซื้อขาย สมมติราคารับซื้อที่ 42 บาท/กิโลกรัม
ประเมินว่ายาง 1 ตัน
42 x 1,000 = 42,000
ทั่วไปน้ำหนักหาย 10% ทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้นอีก 4.20 บาท
42 + 4.20 = 46.20
46.20 + แรงงาน + ไฟฟ้า(ประเมินที่ 1 บาท/กิโลกรัม )
42 + 4.20 + 1 = 47.20 บาท
ในช่วงระยะเวลา มกราคม – กุมภาพันธ์ 56 ยางเครปซื้อขายที่ 74 บาท

ผลยางพารา




ข้อด้อยของน้ำมันเมล็ดยางพารา ปัญหาและวิธีแก้ไข
เมล็ดยางมีน้ำมันร้อยละ ๒๕-๓๐ ถ้าสกัดทั้งเปลือก แต่ถ้าแยกเอาเปลือกออกสกัดเฉพาะเนื้อในจะให้น้ำมันร้อยละ ๔๕-๕๐ การสกัดทั้งเปลือกแม้จะให้น้ำมันน้อยกว่า แต่จะประหวัดแรงงานและการลงทุนมากกว่าสกัดเฉพาะเนื้อใน ดังนั้นจึงไม่มีโรงงานใดกะเทาะเปลือกก่อนการสกัดน้ำมัน
น้ำมันจากเมล็ดยางพารามีคุณสมบัติที่ด้อยกว่าน้ำมันพืชชนิดอื่น ๆ อยู่หลายประการ เป็นต้นว่าจะมีค่ากรดขึ้นสูงและสีจะเข้มจนดำในเวลาอันสั้น น้ำมันจะมีการแห้งตัวช้า มีลักาณะเป็นน้ำมันกึ่งแห้งเร็ว ยิ่งเก็บไว้นานจะยิ่งเสื่อมคุณภาพในการแห้งลงไปและสีก็จะคล้ำลงตามลำดับ ซึ่งแก้ไขด้วยวิธีอบเมล็ด ๘๐-๑๐๐ องศาเซลเซียส ใช้เวลาประมาณ ๘ ชั่วโมง เมล็ดที่ผ่านการอบแล้วจะเก็บไว้ได้ระยะเวลาหนึ่ง การเก็บเมล็ดที่มีความชื้นต่ำจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะทำให้น้ำมันมีคุณภาพดี
เมื่ออบเมล็ดไล่ความชื้นแล้วนำเข้าเครื่องบีบอัดได้ทันทีและถ้านำน้ำมันที่ได้ผ่านกรรมวิธีฟอกสีทันที ที่อุณหภูมิ ๙๐-๑๑๐ องศาเซลเซียส ใช้ผงฟอกสี ๓-๕ เปอร์เซ็นต์ จะช่วยลดสีของน้ำมันลงได้มากและสามารถจะเก็บน้ำมันได้ข้ามปี โดยจะมีสีเข้มขึ้นเพียงเล็กน้อย